
อ๊อฟ ชัยนนท์ เล่าประสบการณ์ และชวนเช็ก 7 อาการกรดไหลย้อน
หลายคนอาจเข้าใจว่า อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียดหลังมื้ออาหาร เป็นเพียงผลจากการกินเร็วเกินไป เครียดสะสม หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การสั่งอาหารเดลิเวอรี การทำงานล่วงเวลา หรือการใช้ชีวิตเร่งรีบ แต่แท้จริงแล้ว อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกรดไหลย้อน”
ทำความเข้าใจโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) คือ ภาวะที่น้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว หรืออาการอื่น ๆ ที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
โดยกรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower Esophageal Sphincter: LES) ที่ทำหน้าที่เปิด เพื่อให้อาหารผ่านลงกระเพาะอาหาร และปิด เพื่อป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมา หากกล้ามเนื้อหูรูดนี้ คลายตัวหรือปิดไม่สนิท จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังหลอดอาหารได้ง่าย นอกจากนี้ อาจเกิดจากการบีบตัวของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารผิดปกติ หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง
นอกจากสาเหตุข้างต้น โรคกรดไหลย้อน สามารถเกิดได้จากพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน โดยในปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากกำลังประสบกับปัญหาโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบ ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ตัว จึงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในหลาย ๆ ด้าน คุณอ๊อฟ ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ ผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ประสบกับโรคกรดไหลย้อนได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่มีอาการคล้ายกัน ได้เข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพก่อนที่โรคจะลุกลามหรือส่งผลกระทบในระยะยาว
7 สัญญาณอาการโรคกรดไหลย้อน รู้ก่อนจัดการได้
นอกเหนือจากอาการเรอเปรี้ยวหรือแสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหาร แนะนำให้ทุกคนลองสังเกตตัวเอง เพราะหากพบว่า มีอาการดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายข้อร่วมกัน อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังมีภาวะกรดไหลย้อน และควรเริ่มดูแลสุขภาพหรือพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรับคำแนะนำที่ถูกต้อง
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน
- ไม่สบายท้อง แน่นท้อง จุกเสียด
- ปวดท้องช่วงบน จุกแน่นลิ้นปี่
- เรอเปรี้ยว
- คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนมีน้ำย่อยไหลขึ้นมา
- แสบร้อนกลางอก
- แสบคอ จุกแน่นในลำคอ กลืนลำบาก
ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
สิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อนหรืออาการรุนแรงขึ้น มักมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่หลายคนอาจมองข้าม
- ปัจจัยจากการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกิน เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา กินมากหรือเร็วเกินไป กินแล้วนอนทันที การกินอาหารบางชนิด เช่น อาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมไปถึงความเครียด การดื่มสุรา และสูบบุหรี่
- ปัจจัยทางกายภาพ น้ำหนักตัวมากเกินไปหรือเป็นโรคอ้วน อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
- ปัจจัยจากโรคและยา
ผลกระทบและภาวะแทรกซ้อน
แม้โรคกรดไหลย้อนจะดูเหมือนเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่รุนแรงในช่วงแรกจนทำให้หลายคนละเลย คิดว่า ไม่อันตราย แต่อาการที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจลุกลามจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในอนาคตได้
ผลกระทบระยะสั้น
- คุณภาพชีวิตแย่ลง : เมื่อมีอาการผิดปกติจากกรดไหลย้อน อาจสร้างความรู้สึกไม่สบายตัว ทำให้รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับ การรับประทานอาหาร
- ลดประสิทธิภาพการทำงาน : อาการที่เกิดซ้ำ ๆ อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จำเป็นจะต้องหยุดงานหรือขาดงานบ่อย ๆ
- ปัญหาทางสังคม : เมื่อเกิดอาการกรดไหลย้อน อาจทำให้อยากหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ผลกระทบระยะยาว
- การอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหาร (Esophagitis) : กรดที่ไหลย้อนขึ้นมาสัมผัสเยื่อบุหลอดอาหารซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง อาจมีแผลหรือเลือดออก ส่งผลให้กลืนอาหารลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บ
- Barrett’s Esophagus : ภาวะที่เยื่อบุหลอดอาหารเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารในอนาคต
- ความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร : การอักเสบเรื้อรัง และภาวะ Barrett’s Esophagus เพิ่มโอกาสที่เซลล์เยื่อบุหลอดอาหารจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อนรุนแรงหรือเป็นมานาน
การป้องกันและการจัดการเบื้องต้น
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน : กินอาหารให้เป็นเวลา และแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ พร้อมหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ และไม่ล้มตัวนอนทันทีหลังกินอาหาร ควรรออย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง
- การจัดการความเครียด : หาสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกผ่อนคลายจากการทำงานหรือการเรียน เช่น ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรกที่ชอบ หรือนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
- การดูแลสุขภาพทั่วไป : ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
- การเลือกรับประทานยาลดกรดและบรรเทากรดไหลย้อนจากประเทศอังกฤษที่มาพร้อม 2 กลไกการออกฤทธิ์ ทั้งปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง และสร้างชั้นแพเจล ป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ออกฤทธิ์ยาวนาน 4 ชั่วโมง
แหล่งอ้างอิง :
กลไกการออกฤทธิ์ของยาลดกรด
ประสิทธิภาพของยาลดกรด
สนับสนุนโดยกาวิสคอน
เมื่อมีอาการกรดไหลย้อน ต้อง ‘กาวิสคอน ดับเบิ้ล แอคชั่น มิ้นต์’ ยาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วย 7 คุณสมบัติรักษาหลากหลายอาการจากกรดไหลย้อน
- อาหารไม่ย่อย
- แสบร้อนกลางอก
- กรดเกิน
- เรอเปรี้ยว
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
- ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร
- ใช้ได้ในผู้สูงอายุ
ด้วย 2 กลไกการออกฤทธิ์ ไม่เพียงลดกรด ปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง แต่ยังสร้างแพเจล ป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง
ที่มา : บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย)
โพสต์ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
เผยแพร่ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
