
กรดไหลย้อนกินยาอะไร? ทำความรู้จัก 7 อาการ และวิธีรักษากรดไหลย้อนเบื้องต้น
คุณรู้หรือไม่ ความรู้สึกท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียด ไม่สบายท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ เรอเปรี้ยวหลังมื้ออาหาร อาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “กรดไหลย้อน” โรคยอดฮิตที่สร้างความลำบาก และความรำคาญใจ อีกทั้งยังรบกวนคุณภาพชีวิตของใครหลายคน โดยเฉพาะวัยทำงานที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ กินอาหารไม่ตรงเวลา กินเยอะเกินไป กินแล้วนอนทันที หรือสะสมความเครียดจากการทำงาน ไปดูกันว่า กรดไหลย้อนกินยาอะไร ต้องดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการ
เช็กลิสต์ 7 ลักษณะอาการกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง ดูแลอย่างไร
แม้โรคกรดไหลย้อนจะเป็น 1 ในโรคยอดฮิตของคนไทย แต่เชื่อว่า หลายคนอาจไม่ตระหนักถึงอาการที่ตัวเองเผชิญอยู่ว่า เป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน โดยวันนี้ คุณอ๊อฟ ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ พิธีกร และผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ ผู้มีประสบการณ์ตรงกับโรคกรดไหลย้อน อยากเชิญชวนให้ทุกคนเช็ก 7 สัญญาณอาการของกรดไหลย้อน ดังนี้
7 สัญญาณอาการโรคกรดไหลย้อน รู้เร็วจัดการได้
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน
- แน่นท้อง จุกเสียด ไม่สบายท้อง
- จุกแน่นลิ้นปี่ ปวดท้องช่วงบน
- เรอเปรี้ยว
- คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนมีน้ำย่อยไหลขึ้นมา
- แสบร้อนกลางอก
- แสบคอ จุกแน่นในลำคอ กลืนลำบาก
กรณีที่มีอาการน่าสงสัยว่าอาจเป็นกรดไหลย้อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาการของโรคกรดไหลย้อนเหล่านี้ สามารถยับยั้งได้ เพียงปรับเปลี่ยนหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ใน 1 มื้อ และหันมาแบ่งทานเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และทานอาหารให้ตรงเวลา
- หลีกเลี่ยงการเอนตัวนอนราบหรือล้มตัวนอนทันทีหลังมื้ออาหาร
- งดพฤติกรรมสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
- ลดการสะสมความเครียด เพราะความเครียดจะกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะถ้าหากมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน จะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน
หากกำลังเผชิญกับอาการกรดไหลย้อน ไม่ว่าจะเป็นอาการเบื้องต้น เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียด ไม่สบายท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ ไปจนถึงอาการเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก แสบคอ และอื่น ๆ หรือกำลังมองหาวิธีแก้กรดไหลย้อน สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาลดกรดและบรรเทากรดไหลย้อนจากประเทศอังกฤษที่มาพร้อม 2 กลไกการออกฤทธิ์ ทั้งปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง และสร้างแพเจลป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง เนื่องจากจะช่วยยับยั้งอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ายาลดกรดทั่วไป
แหล่งอ้างอิง :
โรคกรดไหลย้อน จาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
อาการกรดไหลย้อน จาก โรงพยาบาลศิครินทร์
สนับสนุนโดยกาวิสคอน
เมื่อมีอาการกรดไหลย้อน นึกถึง กาวิสคอน ยาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วย 7 คุณสมบัติรักษาหลากหลายอาการจากกรดไหลย้อน
- อาหารไม่ย่อย
- แสบร้อนกลางอก
- กรดเกิน
- เรอเปรี้ยว
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
- ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร
- ใช้ได้ในผู้สูงอายุ
ด้วย 2 กลไกการออกฤทธิ์ ไม่เพียงลดกรด ปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง แต่ยังสร้างแพเจล ป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง
ที่มา : บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย)
โพสต์ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
เผยแพร่ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
