พื้นที่โฆษณา

เมื่อลูกน้อยติดจอ เสี่ยง "ภาวะออทิสติกเทียม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ - PR News

แชร์หน้านี้

  • 23 พ.ค. 66
  • 41.5K
พื้นที่โฆษณา

คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ การปล่อยให้ลูกอยู่หน้าจอนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยนั่นคือโรคออทิสติกเทียม ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ปกครองหลายท่านกังวลใจ แต่เราสามารถป้องกันและดูแลลูกน้อยได้ ดังนั้นเพื่อพัฒนาการที่สมวัยและสมบูรณ์ บทความนี้จะมาทุกท่านมารู้จักกับสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงภาวะออทิสติกเทียมกัน

ลูกน้อยติดจอเสี่ยงภาวะออทิสติกเทียมได้อย่างไร ?

ภาวะออทิสติกเทียมมีอาการคล้ายกับโรคออทิสติกซึ่งภาวะออทิสติกเทียมนั้นเป็นภาวะที่เกิดจากเด็กขาดการกระตุ้นด้านการสื่อสารเท่าที่ควรโดยทั่วไปพบว่าสาเหตุของภาวะดังกล่าวมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ขาดปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ละเลยปล่อยให้เด็กใช้เวลากับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์มากจนเกินไป จึงทำให้ลูกได้รับการสื่อสารเพียงทางเดียว อันส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อพัฒนาการทางภาษาและสังคมตามมา

อาการบ่งชี้ของภาวะออทิสติกเทียม

  • เด็กมักไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มักอยู่ในโลกของตัวเอง
  • เรียกไม่หัน ไม่สบตา
  • พูดช้าหรือพูดไม่เป็นคำ
  • หงุดหงิดง่าย โวยวาย
  • มีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำ ๆ
  • ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล

วิธีการดูแลเพื่อป้องกันภาวะออทิสติกเทียม

  • ไม่ควรให้ลูกน้อยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนอายุ 2 ขวบ
  • จัดเวลาหน้าจอให้เหมาะกับวัยสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ขวบขึ้นไป สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ปกครองควรหากิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการร่วมกับเด็ก เช่น การวาดรูป ทำอาหาร เกมต่อจิ๊กซอว์ ร้องเพลง เล่นกีฬา เป็นต้น
  • ผู้ปกครองควรหมั่นพูดคุยกับลูกน้อยโดยการฝึกพูดโต้ตอบและไม่ดุลูกด้วยถ้อยคำที่รุนแรง
  • พาลูกออกไปเที่ยวเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าสังคม

สิ่งสำคัญของการมีพัฒนาการที่ดีคือการดูแลเอาใจใส่ของครอบครัวดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นพูดคุยและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดและไม่ควรตามใจลูกให้อยู่กับสื่อเทคโนโลยีเวลานาน อย่างไรก็ตามหากสงสัยว่าลูกเป็นโรคออทิสติกเทียมหรือไม่ควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะถ้าเด็กได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วจะสามารถลดผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกได้

**************************************************************

บทความโดยแพทย์หญิงศิริพร แจ่มจำรัสกุมารแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล(WMC)
ศูนย์กุมารเวชชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะโทร 02-836-9999 ต่อ *2721

พื้นที่โฆษณา
ชอบหน้านี้?

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา
เว็บไซต์ ตรวจหวย ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล LotteryThai.in.th ขอแสดงความยินดี กับท่านผู้โชคดีที่ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล (ตรวจหวย) ผ่านเว็บไซต์ของเราแล้วถูกรางวัล แต่หากท่านใดที่ไม่ถูกรางวัล อย่าได้เสียใจไป งวดหน้ายังมีโอกาสให้ลุ้นอีก ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมในการพัฒนาทางด้านต่างๆ

ข้อมูลผลรางวัลบนเว็บไซต์ของเรานั้นมีความถูกต้อง แต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมของการให้บริการและการใช้งานผ่านระบบ Internet ดังนั้นเพื่อให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องขอให้ท่านทำการตรวจสอบข้อมูลที่สมบูรณ์จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอีกครั้ง ตรวจหวย หรือ ดูเรียงเบอร์ (ใบตรวจหวย)

**เว็บไซต์แห่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น มิได้มีการขายหรือจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเองแต่อย่างใด**